อาหารเสริม

Centuria Calcium Total 60 เม็ด

฿0.00
Centuria Calcium Totalเซนจูเรีย แคลเซียม โิททอลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แคลเซียม ชนิดเม็ดจากประเืทศอเมริกาแคลเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟันร่างกายจะมีการดูดซึมแึคลเซี
  • หมวดหมู่ : บำรุงกระดูกและไขข้อ
  • รหัสสินค้า : 001520

รายละเอียดสินค้า Centuria Calcium Total 60 เม็ด

Centuria Calcium Total

เซนจูเรีย แคลเซียม โททอล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แคลเซียม ชนิดเม็ดจากประเทศอเมริกา

แคลเซียม

เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน  ร่างกายจะมีการดูดซึมแึคลเซียม

เพื่อใช้ตามความจำเป็นแบบวันต่อวัน  ซึ่งส่วนใหญ่จะดูดซึมไปยังกระดูกและ

ฟันโดยตรง  เพื่อการเสริมสร้างและคงความแข็งแรงของกระดูกและฟันอีก

ส่วนจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ทั่วร่างกาย เช่น การแข็งตัวของเลือด  การหด

รัดของกล้ามเนื้อ  การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาทต่างๆ การเก็บกักและ

การปล่อยฮอร์โมน  ทั้งยังทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ  และช่วยรักษาระบบภูมิคุ้ม

กันของร่างกายรวมถึงกระบวนการ  การทำงานของอวัยวะอื่นๆ ที่สำคัญอีก

มากมาย

เราต้องการแคลเซียมแค่ไหนต่อวัน ?

กลุ่มบุคคลทั้งเพศชายและหญิง                 ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอต่อวัน

วัยทารก ( 0-12 เดือน )                                          210- 270    มิลลิกรัม

วัยเด็ก - วัยรุ่น ( 1- 25 ปี )                                     800- 1,000  มิลลิกรัม

วัยทำงาน ( 26- 50 ปี )                                          1,200           มิลลิกรัม

วัยสูงอายุ ( 51 ปีขึ้นไป )                                       1,500           มิลลิกรัม

สตรีมีครรภ์/ สตรีให้นมบุตร                                  1,500- 2,000  มิลลิกรัม

ผู้ป่วยกระดูกหัก                                                     1,500           มิลลิกรัม

การดูดซึมและการสะสมแคลเซียมของร่างกาย

การทานแคลเซียมแต่ละครั้ง  ร่างกายดูดซึมไว้ได้เพียง 20- 40%  จากปริมาณ

ที่ทานเข้าไป  ซึ่งประสิทธิภาพในการดูดซึม เกี่ยวพันกับการสะสมแคลเซียม

โดยตรง  จากการศึกษาพบว่าการสะสมแคลเซียมเริ่มตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์

มารดาและจะลดลงไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น  ซึ่งพบว่าหลังจากอายุ 30 ปี ร่างกาย

จะไม่สามารถสะสมแคลเซียมในกระดูกได้อีกต่อไป

ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม

1. อายุ / เพศ  อายุเพิ่มมากขึ้น  ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมจะยิ่งลดลง

   และเพศชายมีการดูดซึมแคลเซียมได้มากกว่าเพศหญิง

 2.  องค์ประกอบอื่นๆ ในอาหาร  สารบางชนิดในผัก เช่น ใยอาหาร ,ไฟเตต

      หรือฟอสฟอรัส ที่มากเกินไปในร่างกาย  ทำให้มีการจับตัวกับแคลเซียม

      เป็นสารประกอบโมเลกุลใหญ่ ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้

3.  การใช้ยาบางชนิด  เช่น ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมหรือยาปฏิชีวนะบางชนิด

แคลเซียมกับวิตามินและแร่ธาตุ

-  แมกนีเซียม

แคลเซียมและแมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันอย่างแยกจากกันไม่ได้

แมกนีเซียมจะช่วยในเรื่องของการดูดซึมแคลเซียม  เพื่อการสร้างความ

แข็งแรงให้กับกระดูก

-  วิตามินดี

เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแึคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย โดยการเร่งระบบการขนส่ง

แคลเซียมให้เคลื่อนผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด  หากปริมาณแคลเซียม

ในเลือดต่ำ วิตามินดี จะเข้าไปทำปฏิกิริยาที่ไต เพื่อทำให้ปริมาณแคลเซียม

ที่มีอยู่ในร่างกายเพียงพอกับความต้องการ

-  วิตามิน ซี 

เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียม  เนื่องจากวิตามิน ซี มี

สภาวะเป็นกรด ซึ่งเป็นสภาวะที่แคลเซียมดูดซึมได้ดี  การทานแคลเซียมร่วม

กับวิตามิน ซี จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายให้

ดียิ่งขึ้น

-  แมกนีเซียมและวิตามิน ดี 

แมกนีเซียมจะช่วยสร้างวิตามิน ดี ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อ

การเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกและฟัน ถือ

เป็นการชะลอระยะเวลาในการเสื่อมของกระดูกและฟันได้

โรคที่เกิดจากการขาดแึคลเซียม

-  โรคกระดูกพรุน   เมื่ออายุ  30 ปี  ความสามารถในการสะสมแคลเซียมจะ

หมดไป  ในขณะที่การสลายกระดูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6- 8  ทุกๆ 10 ปี  หากร่าง

กายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อวัน  ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่อยู่ในกระดูก

ออกมาใช้  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน

-  ความดันโลหิตสูง   จากการศึกษาพบว่า แคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัว

ได้ดี  ทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะส่งผล

ให้ความดันโลหิตลดลงได้

-  มะเร็งลำไส้ใหญ่  จากการศึกษาพบว่่า ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีแนวโน้มลดลงเมื่อรับประทานแคลเซียม  เพราะแคลเซียมช่วยลดการรบกวน

ของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้  ซึ่งเป็นสาเหตุของการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ อัน

เป็นผลสืบเนื่องให้เกิดโรคมะเร็ง

-  อาการปวดก่อนมีประจำเดือน  จากการศึกษาวิจัยโดยให้ผู้หญิงจำนวนหลาย

ร้อยคนที่มีอาการปวดก่อนมีประจำเดือน  รับประทานแคลเซียมขนาด 750 มก.

ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เม็ด  พบว่าอาการดังกล่าวลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน

ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดแคลเซียม

-  วัยทำงาน ( 26- 50 ปี )  เมื่ออายุ 30 ปี การสะสมแคลเซียมในกระดูกจะหมด

ไป  ขณะที่การสลายตัวของกระดูกกลับเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะเพศ

หญิง ซึ่งพบว่าเริ่มเกิดปัญหาโรคกระดูกตั้งแต่อายุ 40 ซึ่งเร็วกว่าเพศชายถึง

20 ปี  ส่วนหนึ่งมาจากการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าเพศชาย  ทำให้การสะสม

แคลเซียมน้อยตามไปด้วย  เมื่อการสะสมแคลเซียมหมดไปแล้ว  แคลเซียม

ที่สะสมอยู่ในกระดูกจึงถูกดึงออกมาใช้ จนเกิดปัญหาโรคกระดูกสูงกว่า

เพศชาย

-  วัยสูงอายุ ( 51 ปีขึ้นไป )  เป็นวัยที่มีประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมต่ำ

ทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูก  โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำ

เดือน  เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนและประสิทธิภาพในการสร้างวิตามิน ดี ลดลง

บางรายอาจกระดูกหักได้ เพราะแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว หรือที่ร้ายแรงก็คือ

ผลเสียที่เกิดกับกระดูกสันหลัง  กระดูกต้นขาและแขน โดยโรคดังกล่าวจะไม่

แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก

-  สตรีมีครรภ์ และ สตรีให้นมบุตร  เนื่องจากแม่จะต้องถ่ายทอดแคลเซียมสู่ลูก

เพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์  หากได้รับแคลเซียมไม่

เพียงพอจะเกิดผลเสียทั้งแม่และลูก เช่น แม่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ

ต่างๆ โดยเฉพาะน่อง ซึ่งเกิดขึ้นทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมากไป จาก

การศึกษาพบว่าสตรีมีครรภ์เป็นตะคริว ถึงร้อยละ 26.8 มักเริ่มมีอาการตั้งแต่

อายุครรภ์ได้ 25 สัปดาห์

-  ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะสารนิโคตินและแอลกอฮอล์

รวมถึงคาเฟอีน จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง Adrenaline ซึ่งทำให้เกิดการย่อย

สลายกระดูกมากขึ้น

-  ผู้ที่ผอมบางกระดูกเล็ก  มักจะมีการสะสมแคลเซียมไว้ในกระดูกในปริมาณ

น้อย

-  ผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่  หรือนักมังสวิรัติ   ทำให้โอกาศได้รับแคลเซียม

ที่เพียงพอต่อวันมีน้อย

-  ผู้ที่แพ้นม  เพราะนมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

-  ผู้ที่มีปัญหาต่อมไร้ท่อ  ทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกมากกว่า

ปกติ

-  ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

วิธีทาน   ครั้งละ  1 เม็ด วันละ 1 ครั้งหลังอาหาร

centuria calcium total

centuria calcium total